Sunday, January 31, 2016

แคแสด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathodea campanulata Beauv.

ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE

ชื่อสามัญ: Africom Tulip Tree

ชื่อท้องถิ่น: แคแสด


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แคแสดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 30-45 ซม. ใบย่อยมี 4-9 คู่ รูปรีถึงรูปไข่ ขอบใบเป็นริ้วเล็กน้อย ปลายใบแหลมและมักจะงุ้มลง มีขนเล็กน้อย มีขนาดยาว 5-12 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ดอกเป็นช่อตั้ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแผ่เป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ กลีบดอกยับย่น สีส้มแสดถึงสีแดงแสด ดอกทยอยบาน ร่วงง่าย ออกดอกราวเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลแบนคล้ายฝัก ปลายแหลม ผลแก่สีน้ำตาลดำ ผลแก่จะแตกเป็นด้านเดียวเมล็ดเล็กแบนมีปีก 

 การขยายพันธุ์  : แคแสด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ชอบที่แจ้ง แดดจัด 

 ประโยชน์

เปลือกรักษาแผล โรคผิวหนัง แผลเรื้อรัง แก้บิด
ใบและดอก ใช้พอกแผล ดอก ใช้รักษาแผลเรื้อรัง
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกมาประกอบอาหารได้เหมือนแคบ้าน

ประโยชน์

เปลือกรักษาแผล โรคผิวหนัง แผลเรื้อรัง ใบและดอก ใช้พอกแผล ดอก ใช้รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกมาประกอบอาหารได้เหมือนแคบ้าน
แคแสด
แคแสด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:พืช (Plantae)
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Violales
วงศ์:Bignoniaceae
สกุล:Spathodea
สปีชีส์:S. campanulata


ยังมีการนำไปเป็นต้นไม้เพื่อบังแดด
    แสดงอยู่ในเว็บพันทิป
   http://pantip.com/topic/30976241

ที่บ้านผมทรงพุ่มดีครับ สูงเลยหลังคาชั้นสอง ใบหนาดกดีมาก เป็นไม้โตเร็ว ดอกสีแสดทั้งปี

ใบร่วงบ้างในหน้าอื่น แต่ในหน้าแล้งจะร่วงเยอะ ทั้งดอกและใบ แต่ก็ยังเหลือใบให้ร่มตลอดเวลา

ถ้าปลูกกลางแดดเดี่ยวๆ มักจะได้ทรงพุ่ม อยากให้ใบเยอะต้องขยันตัดแต่งกิ่งให้กิ่งใหม่งอกเยอะๆ




และยังมีดอกที่คล้ายกับดอกแคแสด จนเรียกว่าเป็นแฝดกัน คือดอกทองกวาว

ชื่อ ทองกวาว
ชื่อวิยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub.
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ชื่อเรียกอื่น กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองต้น
ลักษณะ ไม้ขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร ลำต้นส่วนมากจะคดงอ และแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาคล้ำ แตกระแหงเป็นร่องตื้น ๆ ใบ เป็นใบประกอบที่ออกจาก จุดปลายก้านเดียวกัน 3 ใบ ติดเรียงเวียนสลับ แน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปป้อม โคนเบี้ยว ปลายมน ลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกลางจะมีก้านใบยาวและใหญ่ที่สุด ดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบและตามปลายกิ่ง ส่วนฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกสีแสดที่เป็นสีเหลืองหายาก ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่มี 5 กลีบ เกสรผู้มี 10อัน แยกเป็นอิสระ 1 อัน อีก 9 อัน โคนก้านเชื่อม ติดกันเป็นหลอด ผล เป็นฝักแบน กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวถึง 14 ซม. มีขนคลุมแน่น ภายในมีเมล็ดแบน ๆมีเมล็ดเดียว
การกระจายพันธุ์ พบขึ้นกระจายทั่วไปตามที่ราบลุ่มในป่าเบญจพรรณ ตามภาคต่าง ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 80-300 เมตร
ประโยชน์ เนื้อไม้เมื่อแห้งมีน้ำหนักเบาและหดตัวมาก ใช้ทำกระดานกรุบ่อน้ำ ดอก ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า เมล็ดใช้บำบัดพยาธิภายใน ดอกใช้ขับปัสสาวะ
แหล่งข้อมูล หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden
ข้อมูลเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลอื่น
พื้นที่จัดแสดง Q3N - โรงเรือนไม้ใหญ่ : Q3 - เรือนรวมพันธุ์ไม้ใหญ่ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 
สรรพคุณ/ประโยชน์ ใบ ต้มดื่มแก้ปวด ขับพยาธิ แก้ริดสิดวงทวาร(เมล็ด มีสารbutin มีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน มีผลเสียต่อตรีที่ต้องการตั้งครรภ์) 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathodea campanulata Beauv.
ชื่อวงศ์: BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ: Africom Tulip Tree
ชื่อท้องถิ่น: แคแสด
ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น
ลักษณะทั่วไป: แคแสดเป็นพืชพื้นเมืองของ แอฟริกาตอนใต้ หลังจากนั้นได้แพร่หลาย ไปยังส่วนต่างๆของโลก ที่มีอากาศค่อนข้างร้อน แคแสด เป็นไม้ยืนต้นกิ่งผลัดใบ
ขนาดกลางความสูงประมาณ 15-20 เมตร ถ้าปลูกในที่แห้งมากจะผลัดใบ แต่ไม่พร้อมกันทั้งต้น เปลือกต้นไม้เป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นรวงตามยาว เรือนยอดทรงกลมทึบ
ใบ : เป็นใบผสมแบบขนนก มีใบย่อย 4 - 7 คู่ ใบยอดรูปรี ปลายใบแหลม ลักษณะใบ สาก ระคายมือ
ดอก : เป็นช่อเกิดที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งตรง กลีบดอกติดกันเป็นรูประฆัง คล้ายดอกทิวลิป สีแสด หรือสีเลือดหมู ดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกร่วงง่าย แคแสดจะให้ดอก
แต่ที่ตลอดปีออกดอกมากที่สุดในฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
ผล : แบบลักษณะคล้ายฝัก ปลายผลแหลม ผลแก่สีน้ำตาลดำ ผลแก่จะแตกเป็นด้านเดียวเมล็ดเล็กแบนมีปีก การที่มีดอกตลอดทั้งปี ดังนั้นแคแสด
จึงมีผลแก่อยู่เสมอมากที่แต่จะสุดในฤดูฝน คือ ประมาณเดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือกใช้รักษาแผลเรื้อรัง แก้บิด ใบและดอกใช้พอกแผล
การขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด จะออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 - 8 ปี ถ้าตัดแต่งกิ่งให้แตกเป็นพุ่มกลม ก็จะให้ดอกเป็นพุ่มกลมตามรูปของเรือนยอด
ดูสวยงามมาก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกทองกวาว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกทองกวาว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกทองกวาว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกทองกวาว